One Piece - Tony Tony Chopper

Thursday, September 18, 2014

ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ต่างๆ

 ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรม (Software) ที่ทําหน้าที่ ควบคุมการทํางานของ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบปฏิบัติการจะทําหน้าที่ เป็น ตัวกลางในการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ของเครื่องโดยตรงและโปรแกรมการใช์งานต่าง ๆ
ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ระบบต่างๆ
         การทํางานของคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทํางานด้วยตัวเองได้ แต่จะต้องอาศัยโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางานซึ่งเรียกว่า “ซอฟต์แวร์” (Software) โดยทั่วไปซอฟต์แวร์จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โปรแกรมสําเร็จรูป และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้จะมีหน้าที่ ในการจัดการและควบคุมการทํางานและอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การจัดการเกี่ยวกับการแสดงผลบนจอภาพ รับข้อมูลทางแป้นพิมพ์หรือเมาส์ การจัดการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลลงแฟ้ม การติดตั้งโปรแกรม นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการยังช่วยสร้างส่วนติดต่อ ระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ (User interface) ให้ง่ายต่อการใช้งาน ระบบปฏิบัติการมีอยู่หลาย ระบบ ซึ่งมีการพัฒนาจากผู้ผลิตหลายบริษัท แต่ที่สําคัญ ๆ มีดังนี้
            1. ระบบปฏิบัติการ DOS (Disk Operating System) 
          ระบบ DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM เพื่อให้เป็นระบบปฏิบัติการสําหรับเครื่องพีซี ซึ่งตัวโปรแกรม DOS จะถูก Load หรืออ่านจากแผ่นดิสก์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจําก่อน จากนั้น DOS จะไปทําหน้าที่เป็น ผู้ประสานงานต่าง ๆ ระหว่างผู้ใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหลายโดยอัตโนมัติ โดยที่ DOS จะรับคําสั่งจากผู้ใช้หรือโปรแกรมแล้ว นํ าไปปฏิบัติตาม โดยการทํางานจะเป็นแบบ Text mode สั่งงานโดยการกดคําสั่งเข้าไปที่ซีพร็อม (C:>)ดังนั้น ผู้ใช้ระบบนี้จึงต้องจําคําสั่งต่าง ๆ ในการใช้งานจึงจะสามารถใช้งานได้ ระบบปฏิบัติการ DOS ถือได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่เก่าแก่. และปัจจุบันนี้มีการใช้งานน้อยมาก
              2. ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 
         Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งจะมีส่วนติดต่อกับ ผู้ใช้(User interface) เป็นแบบกราฟิก หรือเป็นระบบที่ใช้รูปภาพแทนคําสั่ง เรียกว่า GUI (Graphic User Interface) โดยสามารถสั่งให้เครื่องทํางานได้โดยใช้เมาส์คลิกที่สัญลักษณ์หรือคลิกที่คําสั่งที่ต้องการ ระบบนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมได้มากกว่า 1 โปรแกรมในขณะเดียวกันซึ่งถ้าเป็นระบบ DOS หากต้องการเปลี่ยนไปทํางานโปรแกรมอื่น ๆ จะต้องออกจาก โปรแกรมเดิมก่อนจึงจะสามารถไปใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้ ในลักษณะการทํางานของ Windows จะมีส่วนที่เรียกว่า “หน้าต่าง” โดยแต่ละโปรแกรมจะถือเป็นหน้าต่างหนึ่งหน้าต่าง ผู้ใช้สามารถ สลับไปมาระหว่างแต่ละหน้าต่างได้ นอกจากนี้ระบบ Windows ยังให้โปรแกรมต่าง ๆ สามารถ แชร์ข้อมูลระหว่างกันได้ผ่านทางคลิปบอ์.ด (Clipboard) ระบบ Windows ทําให้ผู้ใช้ ทั่ว ๆไปสามารถทําความเข้าใจ เรียนรู้และใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น
       3. ระบบปฏิบัติการแมค
                ระบบปฏิบัติการแมค (Mac OS) เป็นระบบปฏิบัติการทางบริษัทแอปเปิล (Apple Inc.) ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานมาจากระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ และเป็นผู้บุกเบิกส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก ระบบปฏิบัติการแมคมีการพัฒนาหลายรุ่น เช่น แมคโอเอสรุ่นที่ 9 (Mac OS 9) แมคโอเอสรุ่นที่ 10(Mac OS X)
     
 4. ระบบปฏิบัติการ Unix 
           Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้บนเครื่อง SUN ของบริษัท SUN Microsystems แต่ไม่ได้เป็นคู่แข่งกับบริษัท Microsoft ในเรื่องของระบบปฏิบัติการบนเครื่อง PC แต๋อย่างใด แต่Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช็เทคโนโลยีแบบเปิด (Open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้อง ผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน นอกจากนี้ Unix ยังถูกออกแบบมาเพื่อ ตอบสนองการใช้งานในลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกัน เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้(Multiuser system) และสามารถทํางานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (Multitasking system)
             5. ระบบปฏิบัติการ Linux 

           Linux เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ DOS, Windows หรือ Unix โดยLinuxนั้นจัด ว่าเป็นระบบปฏิบัติการ Unix ประเภทหนึ่ง การที่Linuxเป็นที่กล่าวขานกันมากในช่วงปี 1999 – 2000 เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติ การและโปรแกรมประยุกต์ที่ ทํ างานบนระบบ Linux โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU’s Not UNIX) และสิ่งที่สําคัญที่สุดก็คือ ระบบ Linux เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อ โปรแกรม Linux นั้นมี นักพัฒนาโปรแกรมจากทั่วโลกช่วยกันแก้ไข ทําให้การขยายตัวของ Linux เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยในส่วนของใจกลางระบบปฏิบัติการ หรือ Kernel นั้นจะมีการพัฒนาเป็นรุ่นที่ 2.2 (Linux Kernel 2.2) ซึ่งได้เพิ่มขีดความสามารถและสนับสนุนการทํางานแบบหลายซีพียู หรือ SMP (Symmetrical Multi Processors) ซึ่งทําให้ระบบLinux สามารถนําไปใช้สําหรับทํางาน เป็น Saver ขนาดใหญ่ได้ระบบ Linux ตั้งแต่รุ่น 4 นั้น สามารถทํางานได้บนซีพียูทั้ง 3 ตระกูล คือ บนซีพียูของ อินเทล (PC Intel) ดิจิทัลอัลฟาคอมพิวเตอร์ (Digital Alpha Computer และซันสปาร์ค (SUN SPARC) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM (Red Hat Package Management) ถึงแม้ว่าขณะนี้ Linux ยังไม่สามารถแทนที่ Microsoft Windows บนพีซีหรือ Mac OS ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ก็มีผู้ใช้ จํานวนไม่น้อยที่สนใจมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บน Linux และเรื่องของการดูแล ระบบ Linux นั้น ก็มีเครื่องมือช่วยสําหรับดําเนินการให็สะดวกยิ่งขึ้น
6ระบบปฏิบัติการอื่นๆ
                ในปัจจุบันพีดีเอ สมาร์ทโฟน จีพีเอส แท็บแล็ต หรืออุปกรณ์พกพาอื่นๆ เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น อุปกรณ์พกพาเหล่านี้มีทรัพยากรที่จำกัด เช่น หน่วยความจำ แหล่งพลังงาน และอาจให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุปกรณ์รับข้อมูล เช่น แทร็กบอล (trackball) หรือจอสัมผัส (touch screen) ที่เพิ่มความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบปฏิบัติการเฉพาะ เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบปฏิบัติการในกลุ่มอุปกรณ์ประเภทนี้ เรียกว่า ระบบปฏิบัติการแบบฝังตัว (embedded operating system)เช่น ซิมเบียน (Symbian) วินโดวส์โมบาย (Windowsmobile) แบลคเบอร์รี่ (BlackBerry) แอนดรอยด์(Android) ไอโอเอส (ios) 
โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์
  ตัวแปลภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งในภาษาคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆไปเป็นภาษาเครื่อง ซึ่งเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ และทำงานตามคำสั่งได้ โดยโปรแกรมที่เขียนเป็นโปรแกรมต้นฉบับ หรือ ซอร์สโค้ด ( Source code) ซึ่งโปรแกรมเมอร์เขียนคำสั่งตามหลักการออกแบบโปรแกรม และจำเป็นต้องใช้ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อตรวจสอบไวยากรณ์ของภาษาว่าเขียนถูกต้อง หรือไม่ และทดสอบผลลัพธ์ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งภาษาคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆจะมีตัวแปลภาษาของตนเองโดยเฉพาะ โปรแกรมที่แปลจากโปรแกรมต้นฉบับแล้วจะเรียกว่า ออบเจ็คโค้ด ( Object code) ซึ่งเป็นภาษาเครื่องที่ประกอบด้วย รหัสคำสั่งที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้ต่อไป
          ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์มีการใช้งานสำหรับการแปลภาษาคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
          1. แอสเซมเบลอร์ ( Assembler) เป็นตัวแปลภาษาแอสเซมบลีซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำ ให้เป็นภาษาเครื่อง
          2. อินเทอร์พรีเตอร์ ( Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงไปเป็นภาษาเครื่อง โดยใช้หลักการแปลคำสั่งครั้งละ 1 คำสั่งให้เป็นภาษาเครื่อง แล้วนำคำสั่งที่เป็นภาษาเครื่องนั้นไปทำการประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ทันทีหากไม่พบข้อผิดพลาด หลังจากนั้นจะแปลคำสั่งถัดไปเรื่อยๆจนกว่าจะจบโปรแกรม ในระหว่างการแปลคำสั่ง ถ้าหากพบข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ของภาษา โปรแกรมอินเทอร์พรีเตอร์ก็จะหยุดการทำงานพร้อมแจ้งข้อผิดพลาดให้ทำการแก้ไขซึ่งทำได้ง่ายและรวดเร็ว แต่ออบเจ็คโค้ดที่ได้จากการแปลคำสั่งโดยใช้อินเทอพรีเตอร์นั้นไม่สามารถเก็บไว้ใช้ใหม่ได้ จะต้องแปลโปรแกรมใหม่ทุกครั้งที่ต้องการใช้งาน ทำให้โปรแกรม ทำงานได้ค่อนข้างช้า
          3. คอมไพเลอร์ ( Compiler) เป็นตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงไปเป็นภาษาเครื่อง โดยทำการตรวจสอบความถูกต้องของการเขียนคำสั่งทั้งหมดทั้งโปรแกรมให้เป็นออบเจ็คโค้ด แล้วจึงทำการแปลคำสั่งไปเป็นภาษาเครื่อง จากนั้นจึงทำทำการประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ หากพบข้อผิดพลาดของการเขียนโปรแกรม หรือมีคำสั่งที่ผิดหลักไวยากรณ์ของภาษาคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมไพเลอร์จะแจ้งให้โปรแกรมเมอร์ทำการแก้ไขให้ถูกต้องทั้งหมดก่อนแล้วจึงคอมไพล์ใหม่อีกครั้ง จนกว่าไม่พบข้อผิดพลาดถึงจะนำโปรแกรมไปใช้งานได้
          ข้อดีของคอมไพเลอร์ คือโปรแกรมออปเจ็คโค้ดที่ได้จะรวบรวมคำสั่งที่สำคัญในการรันโปรแกรม และได้โปรแกรมที่ทำงานเองได้ หรือ Execute Program ซึ่งสามารถทำงานได้ไม่จำกัด ไม่ต้องเสียเวลาในการแปลใหม่ทุกครั้ง ทำให้การทำงานของโปรแกรมเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงเป็นรูปแบบการแปลที่ได้รับความนิยมอย่างมาก
          ในปัจจุบัน มีหลักการแปลภาษาคอมพิวเตอร์แบบใหม่เกิดขึ้น คือ แปลจากซอร์สโค้ด ไปเป็นรหัสชั่วคราว หรืออินเทอมีเดียตโค้ด ( Intermediate Code) ซึ่งสามารถนำไปทำงานได้ด้วย การใช้โปรแกรมในการอ่าน และทำงานตามรหัสชั่วคราวนั้น โดยโปรแกรมนี้จะมีหลักการทำงาน คล้ายกับอินเทอพรีเตอร์ แต่จะทำงานได้เร็วกว่าเนื่องจากรหัสชั่วคราวจะใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก มีข้อดีคือสามารถนำรหัสชั่วคราวนั้นไปใช้ได้กับทุก ๆ เครื่องมี่มีโปรแกรมตีความได้ทันที
โปรมแกรมอรรถประโยชน์
            โปรแกรมอรรถประโยชน์เป็นโปรแกรมที่ช่วยอำนวยคามสะดวกในการใช้งาน หรือการจัดการคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการไฟล์ การบีบอัดไฟล์ การสำรองไฟล์ การจัดเรียงพื้นที่ดิสก์ การลบไฟล์ที่ไม่จำเป็น การป้องกันไวรัส
1)โปรแกรมจัดการไฟล์
                โปรแกรมจัดการไฟล์(file manager)ใช้จัดการไฟล์และโฟล์เดอร์ต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ค้นกา คัดลอก เคลื่อนย้าย ลบ เปลี่ยนชื่อ ซึ่งการจัดการเหล่านี้สามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ตัวอย่างโปรแกรมจัดการไฟล์ เช่น Windows Explorer,FreeCommander
2)โปรแกรมบีบอัดไฟล์
                โปรแกรมบีบอัดไฟล์(file compression) ช่วยลดขนาดไฟล์หรือกลุ่มของไฟล์ เพื่อประหยัดพื้นที่จัดเก็บ และสะดวกในการโอนย้ายไฟล์ ก่อนการใช้งานไฟล์ที่ถูกบีบอัดมาแล้ว จำเป็นต้องเปลี่ยนคืนสู่สภาพเดิมเหมือนก่อนการบีบอัด จึงจะสามารถนำไปบีบอัดได้ ตัวอย่างโปรแกรมบีบอัดไฟล์ เช่น 7-Zip, WinZip, WinRAR
3)โปรแกรมสำรองไฟล์
                โปรแกรมสำรองไฟล์(buckup) ช่วยในการสำเนาไฟล์จากฮาร์ดดิสก์ไปเก็บไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลอื่น ในกรณีที่ฮาร์ดดิสด์หรือข้อมูลเกิดความเสียกาย ผู้ใช้สามารถกูคืนข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลที่เป็นสำเนานั้นได้ และข้อมูลที่สำรองไว้นั้นควรเก็บรักษาไว้ในที่ที่ปลอดภัย  โปรแกรมสำรองไฟล์  Buckup
4)โปรแกรมจัดเรียงพื้นที่ดิสก์
                โปรแกรมจัดเรียงพื้นที่ดิสก์ (disk defragmenter) ช่วยจัดเรียงพื้นที่ว่างที่กระจายอยู่ในฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเกิดจากการสร้างและลบไฟล์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงไฟล์ ซึ่งเดิมส่วนของไฟล์ดังกล่าวอาจเคยกระจัดกระจายอยู่ตามตำแน่งต่างๆในฮาร์ดดิสก์ เนื่องจากฮาร์ดดิสก์ไม่มีพื้นที่ว่างที่ขนาดใหญ่พอที่จะเก็บไฟล์นั้นในพื้นที่ต่อเนื่องกันได้ ส่งผลให้ต้องใช้เวลานานในการเข้าถึงทุกส่วนในไฟล์อย่างครบถ้วน  โปรแกรมจัดเรียงพื้นที่ดิสก์จะจัดเรียงส่วนของไฟล์เดียวกันให้อยู่ในพื้นที่ที่ต่อเนื่องกันให้มากที่สุด ในขณะเดียวกันก็จัดเรียงให้พื้นที่ว่างที่อยู่ระหว่างส่วนต่างๆของไฟล์ต่างๆให้มาอยู่ในพื้นที่ต่อเนื่องกันด้วย โปรแกรมจัดเรียงพื้นที่ดิสก์ เช่น  Disk Defragmenter, Ultra defrag
5)โปรมแกรมลบไฟล์ที่ไม่จำเป็น
                โปรมแกรมลบไฟล์ที่ไม่จำเป็น (disk cleanup) เป็นโปรแกรมที่ช่วยลบไฟล์หรือข้อมูลที่ไม่จำเป็นออกจากฮาร์ดดิสก์ เช่น ข้อมูลที่เกิดขึ้นขณะค้นหาทางอินเทอร์เน็ต หรือข้อมูลที่ลบทิ้งแล้วแต่ยังเก็บในถังขยะ โปรมแกรมลบไฟล์ที่ไม่จำเป็น เช่น Disk Cleanup
โปรมแกรมขับอุปกรณ์
                โปรมแกรมขับอุปกรณ์หรือดีไวซ์ไดรเวอร์ (device driver) เป็นดปรแกรมที่ช่วยในการติดตั้งระบบเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อหรือใช้งานอุปกรณ์ต่างๆได้ ตัวอย่างโปรมแกรมขับอุปกรณ์  เช่น printer driver, scanner driver, sound driver

No comments:

Post a Comment